ทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม

สถานที่ติดต่อ

- สำนักทะเบียนอำเภอ 
- สำนักทะเบียนเขต 
 

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้

- บัตรประจำตัวประชาชน/ ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน ThaID (กรณีผู้ยื่นคำร้องเป็นบุคคลซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมายหรือชาวต่างชาติ ให้เรียกตรวจบัตรประจำตัวอื่นที่ราชการออกให้ หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเอกสารราชการอื่นที่สามารถใช้แสดงตัวบุคคลได้)
- หนังสืออนุมัติจาก พม. (กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์) เอกสารมีอายุ 6 เดือน
- คำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (กรณีเลิกรับบุตรบุญธรรมตามคำสั่งศาลที่บุตรบุญธรรม มิใช่ผู้เยาว์)
- พยาน 2 คน (ต้องเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นบุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง)
*** กรณีเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศต้องแปลเป็นภาษาไทยและผ่านการรับรองนิติกรณ์เอกสารตามขั้นตอนของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

- การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม ไม่เสียค่าธรรมเนียม
- การคัดสำเนา ฉบับละ 10 บาท

ระยะเวลา

3 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความถูกต้อง สมบูรณ์ของเอกสาร/หลักฐาน)

หมายเหตุ

  การรับบุตรบุญธรรมเป็นความสัมพันธ์ในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมตามผลของกฎหมาย    มิใช่ความสัมพันธ์ทางสายโลหิตแต่อย่างใด จึงสามารถจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมได้ แต่ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมที่มีความประสงค์จะจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์ ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น   ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย เพื่อให้คณะกรรมการมีมติอนุมัติให้เลิก     รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเสร็จสิ้นก่อนนำไปจดทะเบียน โดยให้ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ณ สํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรืออธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน ณ ศูนย์อำนวยการ  รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม แห่งใดก็ได้

  การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมกระทำได้ 2 วิธี คือ
  1) การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอม
  2) การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมตามคำสั่งศาล