อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี วันที่ 28 พ.ค. 2559
6 มิถุนายน 2559
วันเสาร์ ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๐.๐๐น. นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานเปิดพิธี กิจกรรมย้อนรอยบรรพบุรุษเจ้าหมื่นเจ้าเภา ครั้งที่ ๑ และงานตาดีกาสัมพันธ์ ครั้งที่ ๖ โดยมี นายณัฎฐ์กร บุญโรภาคย์ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง พ.ท.สามารถ ศิลาแรง เสธ.ฉก.ทพ.๔๔ พ.ต.ท.มาหามะ เจะมะ รอง ผกก.สภ.กะพ้อ ร.ต.ธีรวุฒิ ละไบโดย ผบ.ร้อย ทพ.๔๔๑๕ ปลัดอำเภอกะพ้อ ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่อำเภอกะพ้อ ร่วมให้การต้อนรับ โดยมีนายมะหะหมัด พระศรีเป็นผู้กล่าวรายงาน ประวัติโดยย่อ ดังนี้ถิ่นเดิมมาจากกรุงศรีอยุธยา เมืองสยามสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเจ้าหมื่นเจ้าเภา พี่เณร เจ้าอ่อน เจ้าแก้ว และนางผมยาวมาตามหาช้างเผือก งาดำเป็นช้างของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น ซึ่งถูกจัดให้ออกตามหาช้างและได้ทิ้งร่องรอยและสูญหายในพื้นที่ของจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน (พรุน้ำดำ) เมื่อตามหาช้างมิได้ด้วยความกลัวอาญาแผ่นดินจึงได้แยกย้ายตั้งถิ่นฐานอยู่ใน ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง บ้านเมืองยอน ต.ลุโบะยือไร อ.มายอ และ ต.กะรุบี อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี ซึ่งมีมรดกตกทอดดังนี้ กระดิ่งช้างเผือก ๑ คู่ เพศผู้เพศเมีย มีหอก ๒ ด้าม โดยตระกูลซีบะ เป็นผู้ครอบครอง ส่วนปี่ ตระกูลจันทร์ทองเป็นผู้ครอบครองจนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านเจาะกะพ้อใน มีสุสานเจ้าหมื่น เจ้าเภา โดยมีตระกูลดังนี้ พระศรี ซีบะ จันทร์ทอง ศรีทอง ดิเภา และโต๊ะทอง สามารถมาชมได้ ณ บ้านเจาะกะพ้อใน หมู่ที่ ๗ ตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี โดยอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้กับช้าง นั้น เช่น เครื่องผูกเท้าช้างซึ่งทำมาจากหนังราชสีห์ เจ้าเณร เจ้าอ่อน เจ้าแก้ว เป็นผู้ครอบครอง ซึ่งนั้นอยู่ตำบลพิเทน อ.ทุ่งยางแดง