ทะเบียนรับรองบุตร

สถานที่ติดต่อ

- สำนักทะเบียนอำเภอ 
- สำนักทะเบียนเขต 

 

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้

- บัตรประจำตัวประชาชน/ ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน ThaID (กรณีผู้ยื่นคำร้องเป็นบุคคล ซึ่งไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมายหรือชาวต่างชาติ ให้เรียกตรวจบัตรประจำตัวอื่นที่ราชการออกให้ หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือเอกสารราชการอื่นที่สามารถใช้แสดงตัวบุคคลได้)
- หนังสือยินยอม (กรณีมารดาหรือเด็กไม่มายินยอมด้วยตนเองต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
- คำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (ใช้แทนกรณีที่ฝ่ายมารดาหรือเด็กไม่สามารถให้ความยินยอมได้)
  - พยาน 2 คน (ต้องเป็นบุคคลบรรลุนิติภาวะ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้ เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ ไม่เป็นบุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
*** กรณีเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศต้องแปลเป็นภาษาไทยและผ่านการรับรองนิติกรณ์เอกสารตามขั้นตอนของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ค่าธรรมเนียม

- การจดทะเบียนรับรองบุตรในสำนักทะเบียน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
- การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
- การคัดสำเนา ฉบับละ 10 บาท
 

ระยะเวลา

3 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความถูกต้อง สมบูรณ์ของเอกสาร/หลักฐาน)

หมายเหตุ

 บิดามารดาของเด็กเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว หากบิดาประสงค์จะให้บุตรของตนเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถดำเนินการได้ 3 วิธี คือ 1) บิดามารดาได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ๒) บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร และ ๓) ศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา

วิธีการจดทะเบียนรับรองบุตร
ให้บิดาเป็นผู้ยื่นคำร้อง และให้มารดาเด็กกับเด็กให้ความยินยอม ถ้าหากมารดาเด็กหรือเด็กทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อาจให้ความยินยอมได้ ต้องมีคำพิพากษาของศาล